Friday, July 5, 2013

โอกาศ MLM ในยุค AEC ทางเลือกที่น่าสนใจ

 

  โอกาศ MLM ในยุค AEC ทางเลือกที่น่าสนใจ


เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าในปี 2558 จะมีการเกิด ประชาคมเศรษกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือมีชื่อย่อว่า AEC ซึ่งหลายคน ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคืออะไร ? จะรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไร ? และจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร ? ซึ่งไม่เพียงแต่ตัวท่านเอง มันยังรวมไปถึงลูกหลานของท่านอีกด้วย...
ประกาศวันที่ :: 2013-07-02 16:49:30

 รายละเอียด


สวัสดี ครับทุกท่านวันนี้ผมมีความยินดีมาก ๆ ที่จะได้นำเสนอให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบกับ นักธุรกิจไทยหรือแม้แต่คนไทยโดยทั่วไปค่อนข้างมากเลย สิ่งที่ว่านั้นก็คือการประกาศความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ อาเซียนหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC : ASEAN Economic Community) พูดง่าย ๆ ก็คือการประกาศให้สมาคมอาเซียนของเราซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมกันเป็นหนึ่ง คล้าย ๆ กับสหภาพยุโรป (EU) นั่นแหละครับ โดยประเทศสมาชิกทั้งหมดตกลงร่วมกันที่จะให้เกิดการรวมเป็นหนึ่งในเรื่องของ เศรษฐกิจครับ
ก่อน อื่นผมขอนำเสนอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ AEC ให้ท่านได้รับทราบกันก่อนนะครับ (สำหรับท่านที่อาจจะยังไม่ทราบ) แต่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะนักธุรกิจคงจะทราบเรื่องนี้ดีแล้วนะครับ ถ้าท่านทราบแล้วก็ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกทีนะครับ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
แต่เดิมนั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ยังเป็นเพียงกรอบความตกลงทางการค้า จากเวทีการเจรจาของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้นเพียงความร่วมมือทางการค้า เพื่อชะลอการเปิดเสรีฯ ซึ่งสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป พยายามจะรุกเข้ามาในตลาดของภูมิภาคนี้ การรวมกลุ่มกันเพื่อความเข้มแข็งจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างยาวนาน ของอาเซียน มีการส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหลายระดับ จึงได้พัฒนาต่อยอดเป็นมากกว่าเรื่องทางการค้า หรือเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังวางรากฐานที่จะเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในมิติทางสังคม การเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และกระบวนการต่างๆ ก็เดินหน้าไปทุกขณะ แม้จะไม่เร่งรีบ แต่ก็มียุทธศาสตร์และ Road map วางไว้อย่างชัดเจน จนถึงปัจจุบันนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้นๆ และส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะต้องปรับตัวอย่างเหมาะสม และคอยติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแค่ข้อมูลจากส่วนราชการเท่านั้น แต่ยังต้องแสวงหาโอกาส ความร่วมมือกันของกลุ่มองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอีกด้วย
อาเซียน ได้ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อ เนื่อง หลังจากได้ดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (AFTA: ASEAN Free Trade Area) ในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซ๊ยน (ASEAN Summit) เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จและมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการภายในปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558
โดยอาเซียนจะเป็นตลาดและฐานการผลิต เดียว รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมือโดยเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้ เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา เป็นสาขานำร่อง โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Road map ในแต่ละสาขา ได้แก่
  • ไทย : การท่องเที่ยวและการบิน
  • พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
  • อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
  • มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
  • ฟิลิปปินส์ : อิเล็กทรอนิกส์
  • สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการบริการด้านสุขภาพ

สิ่ง ที่จะเกิดขึ้น คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะรวมตัวกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เหมือนกลุ่มประเทศ EU ของยุโรป ผลที่เกิดขึ้น คือ จะมีการไหลเวียนเคลื่อนย้ายไปมาอย่างเสรี (free flow) ของปัจจัยการค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ดังต่อไปนี้

1. สินค้า
2. บริการ
3. การลงทุน
4. เงินทุน
5. แรงงาน

 ซึ่งจากการเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ ข้างต้นภายใต้ “ประชาคมอาเซียน” ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการใหม่เพื่อใช้ ประโยชน์จากการที่ปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการที่เดิมเคยจำกัดเฉพาะใน ประเทศของตนมาเป็นการผลิตข้ามประเทศ ต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการทำธุรกิจโดยต้องแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจใน ภูมิภาค ซึ่งจะเป็นการช่วยให้มีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือต้องรีบจัดทำแผนทางธุรกิจใหม่เพื่อรองรับกับโอกาสที่ปัจจัย การผลิตสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี
ท่านลองนึกภาพในอนาคตอันใกล้นี้ดูนะ ครับ สมมติว่าท่านเป็นวิศวกรที่ทำงานกับบริษัทต่างชาติ เอาเป็นว่าเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจจากชาติตะวันตกที่เข้ามาเปิด บริษัทหรือสำนักงานในบ้านเรา แล้วเขาต้องการจ้างวิศวกรให้ทำงานให้เขา แต่เมื่อ AEC เกิดขึ้นท่านอาจจะได้รับผลกระทบก็คือ เจ้าของบริษัทที่ว่านี้เขาอาจจะไม่จ้างวิศวกรไทยก็ได้ เหตุก็เพราะว่าผู้ประกอบการเหล่านี้เขามีทางเลือกในการจ้างวิศวกรเพิ่มมาก ขึ้น อย่างเช่น เขาอาจจะหันไปจ้างวิศวกรจากประเทศเวียดนามแทนวิศวกรไทยก็ได้ ซึ่งเขาอาจจะไม่ต้องให้ค่าจ้างสูงเท่าวิศวกรไทยเพื่อเป็นการลดต้นทุน และผมคิดว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่น่าจะทำให้วิศวกรไทยเสียเปรียบก็คือเรื่องของ การพูดภาษาอังกฤษครับ ทุกวันนี้เราต้องยอมรับนะครับว่าคนไทยยังพูดภาษาอังกฤษได้น้อยมาก เพราะฉะนั้นถ้าหากเรายังไม่เตรียมพร้อมในหลาย ๆ เรื่อง เราคงไม่มีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านเราแน่นอนเลยครับ
ไม่เพียงแต่อาชีพวิศวกรตามที่ผมยก ตัวอย่างนะครับที่จะได้รับผลกระทบจาก AEC อาชีพอื่น ๆ อีกหลายอาชีพต้องได้รับผลกระทบแน่นอน คิดง่าย ๆ เลยครับ ผมว่าอาชีพค้าขายหรือนักธุรกิจนี่แหละครับที่จะต้องเจอผลกระทบก่อนอาชีพอื่น ๆ เลยแน่นอน ผมว่าไม่ต้องรอให้ถึงปี 2558 หรอกครับ ปัจจุบันนี้หลายท่านคงจะประจักษ์ชัดแล้วว่าสินค้าราคาถูกจากประเทศจีนได้คืบ คลานเข้ามาตีตลาดบ้านเราไปทุกหย่อมหญ้าแล้ว และที่สำคัญสินค้าจีนราคามันแสนดึงดูดใจลูกค้าเสียเหลือเกิน ถึงแม้คุณภาพอาจจะสู้สินค้าบ้านเราไม่ได้ แต่บางครั้ง คนส่วนใหญ่ก็เลือกซื้อสินค้าที่ราคามากกว่าซื้อเพราะคุณภาพ เห็นไหมครับว่าถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อเตรียมรับมือกับ AEC ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ท่านคิดว่าธุรกิจที่ท่านกำลังทำอยู่จะไม่โดนผลกระทบเลยหรือครับ
ผู้ที่มีวิสัยทัศน์อันยาวไกลเท่านั้น นะครับที่จะเอาตัวรอดได้ในปัจจุบันนี้ ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนปฏิเสธมาโดยตลอด คิดว่ามันเป็นแชร์ลูกโซ่ มันหลอกลวง และหลายท่านไม่เคยเลยที่จะเหลียวมองมัน ก็คือ ธุรกิจเครือข่าย หรือเรียกกันแบบบ้าน ๆ ว่า ธุรกิจขายตรงนั่นแหละครับ ทุกวันนี้ธุรกิจนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตง่าย ๆ เลยนะครับ ผมว่าอย่างน้อยทุกท่านที่กำลังอ่านบทความของผมอยู่ในขณะนี้ก็เคยได้ยินหรือ บางท่านก็กำลังทำธุรกิจตัวนี้อยู่ใช่ไหมครับ ธุรกิจเครือข่าย ถ้าเราลองเปิดใจศึกษาให้ดี ๆ มันก็คือธุรกิจที่ดีอีกสาขาหนึ่งเลยทีเดียว ที่สามารถช่วยให้ผู้คนมีอยู่มีกินได้ถึงขั้นร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้เลยครับ นำเสนอมาค่อนข้างยาวแล้วท้ายนี้ผมอยากจะฝากข้อคิดให้ทุกท่านได้เก็บไปคิดนะ ครับว่า “โลกทุกวันนี้ ถ้าท่านอยู่ที่เดิมไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็เท่ากับท่านยอมให้ตัวเองตามคนอื่นไม่ทัน เพราะทุกวันนี้โลกมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”
หากเห็นว่าเนื้อหานี้ดี มีประโยชน์ ก็ได้โปรดแบ่งปันเพื่อคนอื่น ๆ ด้วยนะครับ หรือถ้าท่านสนใจที่จะรับสุดยอดเทคนิคการดึงดูดผู้มุ่งหวังก็อย่าลืมกรอกชื่อ และ email ของท่านในช่องกรอกข้อมูลที่อยู่ด้านบนขวานะครับ ยินดีให้คำปรึกษาท่านเสมอครับ
แด่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของคุณ
- See more at: http://www.samongs.com/network-marketing/aec-%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8/#sthash.6u2sAvIP.dpuf

เออีซี (AEC ) เกิดขึ้นจากการที่ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซึย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน ตกลงร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมตลาดใน ASEAN ให้เป็นตลาดและฐานผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้านสินค้า แรงงานฝีมือ และบริการ รวมถึงการลงทุนให้เป็นไปอย่างเสรี เพื่อให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ให้เป็นลักษณะเหมือน กลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจเดียวกัน ใกล้เคียงในลักษณะเดียวกันกับ กลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อ AEC เกิดขึ้นแล้วก็คือ
  • การลงทุนจะเสรีมาก ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้
  • ภาษาอังกฤษจะมีความสำคัญมาก
  • คนเก่งๆ ภาษาอังกฤษดีๆ จะสมองไหลไปทำงานต่างประเทศ
  • สำหรับงานประจำ คนไทยจะมีคนต่างประเทศมาแย่งงาน
ในประเด็นของแรงงานฝีมือนั้น จะมีการเคลื่อนย้ายถ้ายเทแรงงานฝีมือภายในประเทศสมาชิกใน 8 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกรรม การสำรวจ สถาปัตยกรรม แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล บัญชี การบริการและการท่องเที่ยว

ในเวลานั้น หาก ต้องการอยู่รอด คนไทยต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองอย่างมากเพราะว่า เราไม่ได้แข่งขันกับเฉพาะคนไทยอีกต่อไป แต่ต้องแข่งขันกับคนอีกมากมายทั้ง ASEAN สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อความอยู่รอดของเราและลูกหลานในยุค AEC ก็คือ
  • เราเก่งภาษาอังกฤษเท่าคนสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ ไหม ?
  • เราขยันสู้คนเวียดนามได้ไหม ? ในค่าจ้างที่อาจถูกกว่าคนไทย
  • ค่าแรงคนไทยสู้คนพม่า ลาว กัมพูชา ที่ค่าจ้างถูกกว่าได้หรือไม่ ?
  • เรามีทักษะด้าน IT ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเพียงพอหรือยัง ?
  • หากเป็น SME เราพร้อมปรับตัวสู้การแข่งขันจากต่างประเทศได้ไหม ? ทั้งเงินทุน และการตลาด
      ดังนั้น การหาทางสำรอง หรือทางเลือกในการสร้างรายได้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการความมั่นคง เปรียบเสมือนยางอะไหล่ของชีวิต !
SME ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 6 สาขาที่พิจารณาว่าจะได้รับผลกระทบได้แก ่เครื่องจักรกล อาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอและเครื่องนุํงหํม อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนั้น ในสํวนของภาคบริการ สาขาที่คาดวำจะได๎รับผล กระทบสาคัญ 3 สาขา ก็คือ ทํองเที่ยว สุขภาพ และโลจิสติกส์
เมื่อ AEC เกิดขึ้น จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านทำเลที่ตั้ง และโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าหลายๆประเทศ จะมีคนหลั่งไหลเข้ามามาก จึงเป็นโอกาสของธุรกิจเครือข่าย ที่นักธุรกิจเครือข่ายสามารถสร้างเครือข่ายของผู้บริโภคได้มากขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนไทยอีกต่อไป แต่หากหมายถึง 600 ล้านคนใน ASEAN

จึงเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจเครือข่าย เพราะ เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยการศึกษาสูง ใครๆก็ทำได้ เป็นธุรกิจที่ลงทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่โตได้แบบไม่จำกัด เป็นธุรกิจที่ไร้ภาระ และได้เวลากับคืนมาซึ่งผิดกับธุรกิจโดยทั่วไปที่ยิ่งโตก็ต้องยิ่งดูแลมาก และที่สำคัญคือ ธุรกิจเครือข่ายสามารถสร้างกระแสเงินสดต่อเนื่องที่เรียกว่า Passive Income อย่างแท้จริงหากคุณทำอย่างถูกต้อง
เพียงแต่คุณต้องเลือกธุรกิจเครือข่ายที่ ถูกกฏหมาย จ่ายผลตอบแทนยุติธรรม และพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทฯที่คุณเข้าร่วมอย่างถ่องแท้ ว่ามีอนาคตหรือไม่ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลา

ดังนั้น ธุรกิจเครือข่ายจึงเป็นทางเลือก ในการสร้างรายได้ และสร้างอิสรภาพทางการเงินในยุค AEC ที่กำลังมาถึง
คุณเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง?
 ที่มา : http://manutppp.com/network-marketing/A2-aec/






ติดต่อทีมงาน : คุณปรีชา สาคร 081-3872203

No comments:

Post a Comment

Total Pageviews